Smart Slider 3

Arrow
Arrow
Slider

บทความธรรมมะ

วิปัสสนากรรมฐานเป็นธรรมปฏิบัติขั้นสูงสุด

โดย พระครูภาวนาวิหารธรรม วิ.

วิปัสสนากรรมฐานเป็นธรรมปฏิบัติขั้นสูงสุด จุดมุ่งหมายเพื่อดับกิเลสและดับทุกข์สิ้นเชิง มีสอนและปฏิบัติเฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น พระพุทธศาสนาสอนการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพื่อให้รู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งที่มากระทบจิตผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ กล่าวคือความรู้สึกที่เห็น ได้ยิน  รู้กลิ่น  รู้รส  รู้สัมผัส  และสภาวะความรู้สึกนึกคิดทางใจ  มิให้สิ่งเหล่านี้เป็นฐานให้กิเลสปรุงแต่งนำไปสู่ความทุกข์ได้อีก ดังนั้น วิปัสสนากรรมฐานจึงสามารถดับหรือละกิเลสได้  เพราะการ ละ กิเลสกล่าวคือ ละตัณหา อุปาทาน  มิให้ปรุงแต่งสิ่งทั้งหลายดังกล่าวข้างต้น  ในขณะที่สิ่งนั้น ๆ กำลังเกิดขึ้นอยู่ที่ทวารทั้ง ๖ ท่านกล่าวว่าเป็นการปฏิบัติตรงและปฏิบัติชอบในกิจของอริยสัจ ๔ นั่นคือ  เห็นความทุกข์ , เหตุให้เกิดทุกข์ ,ความก้าวล่วงทุกข์เสียได้ , และหนทางเครื่องถึงความระงับทุกข์ ดังนี้

กิเลสมี ๓ ระดับคือ

๑. กิเลสอย่างหยาบ  ทำให้เกิดการแสดงออกทางกาย หรือทางวาจาให้ปรากฏแก่บุคคลภายนอก รับรู้อกุศลกรรมนั้นๆ ได้   กิเลสอย่างหยาบนี้ละได้ด้วยศีล

๒. กิเลสอย่างกลาง เมื่อเกิดขึ้นจะแสดงออกอยู่ภายนอกจิตใจ โดยที่บุคคลภายนอกอาจไม่สังเกตรู้ได้ ได้แก่ความยินดีพอใจ  ความพยาบาท  ความฟุ้งซ่านรำคาญใจเป็นต้น  กิเลสอย่างกลางนี้ละด้วยสมาธิ

๓. กิเลสอย่างละเอียด เรียกว่าอนุสัย เป็นกิเลสที่ถูกสั่งสมนอนเนื่องอยู่ภายใน แม้แต่ตัวเองก็ไม่อาจรู้ได้จนกว่าจะมี อารมณ์ที่ถูกตรงกับปมของอนุสัยนั้นจึงเกิดความไหวตัวแสดงออกมาเป็นกิเลสอย่างกลางหรือพลุ่งพล่านจนระงับไม่ได้เป็นกิเลสอย่างหยาบแล้วแต่กรณี อนุสัยกิเลสนี้ท่านกล่าวว่าละได้ด้วยปัญญา

ดั้งนั้นกิเลสทั้งสามคือ อนุสัยกิเลส กิเลสอย่างกลาง และกิเลสอย่างหยาบ สามารถละได้ด้วยปัญญานั่นเอง   พุทธศาสนาเป็นศาสนาเดียวที่สอนให้ใช้ปัญญาในการละอนุสัยกิเลส  กล่าวคือปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริงต่อสิ่งที่กำลังกระทบใจ   ผ่านทางทวารทั้ง ๖ ดังกล่าวสิ่งที่มากระทบใจผ่านทางทวารทั้ง ๖ นี้ ที่แท้ก็คือสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันนั่นเอง ซึ่งตั้งแต่เกิดมาเราไม่เคยศึกษาเรียนรู้สภาวะที่แท้จริงของสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นเพียงการเห็น ได้ยิน รู้กลิ่น    รู้รส  รู้สัมผัส  และรู้ความนึกคิด  ความรู้สึกทางใจที่มีต่อโลกภายนอก และโลกภายในเท่านั้นเอง  เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมดา กล่าวคือ เกิด - ดับ เป็นไปตามเหตุปัจจัย จึงมี ลักษณะที่เปลี่ยนแปลง (อนิจจัง) ไม่คงทนถาวร (ทุกขัง) และไม่อยู่ในบังคับบัญชาของใครเป็นไปตามธรรมชาติของเหตุปัจจัย (อนัตตา) รวมเรียกว่า ไตรลักษณ์ อันเป็นสามัญลักษณะของสิ่งทั้งปวง

 

การใช้สติสัมปชัญญะพิจารณาสังเกตในสรรพสิ่งที่ใจกำลังรับรู้ (แยกตามฐานที่ปรากฏเป็น ๔ ฐาน คือ กาย เวทนา จิต และธรรม) อย่างติดต่อ ต่อเนื่อง ด้วยการวางใจเป็นกลางประกอบด้วยศรัทธา  ที่สมดุลกับปัญญาและวิริยะที่สมดุลกับสมาธิ  จนกระทั่งเห็นไตรลักษณะดังกล่าวข้างต้นในทุกสรรพสิ่งซ้ำแล้วซ้ำเล่า นำไปสู่ความเบื่อหน่าย คลายความยึดติดในสิ่งนั้นๆ เป็นการลดละอนุสัยกิเลสให้น้อยลงไปตามลำดับวิธีการปฏิบัติเช่นนี้ท่านเรียกว่า การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน กล่าวคือเป็นการเห็นความจริงของสิ่งที่จะก่อให้เกิดกิเลสนั้นเสียก่อน  กิเลสจึงไม่อาจเกิดขึ้นได้ ทำให้อนุสัยที่สั่งสมอยู่ไม่ได้รับเชื้อที่จะเติมเข้าไป ย่อมจะหดตัวเบาบางลง อนุสัยกิเลสยิ่งลดน้อยลง ความเบากาย เบาจิต ยิ่งมีมากขึ้น   คือความทุกข์น้อยลงไปตามลำดับ  จนถึงความดับทุกข์ได้อย่างเด็ดขาดเป็นสมุทเฉทปหาน ซึ่งเป็นสภาวะทางจิตที่สามารถเห็นแจ้งประจักษ์ได้เองดังที่ท่านตรัสว่า ธรรมะในพระพุทธศาสนานี้เป็น สันทิฏฐิโก การปฏิบัติธรรมเพื่อมุ่งละอนุสัยกิเลส  คือ อวิชชา  ตัณหา  อุปาทานทั้งปวงนี้ เป็นการปฏิบัติ ศีลสิกขา จิตตสิกขา  และปัญญาสิกขาไปพร้อมกัน  เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา อันเป็นการกระทำกิจที่ถูกต้องและเป็นการปฏิบัติชอบในกิจของอริยสัจ ๔ ในข้อที่ว่าอริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นกิจที่ควรเจริญ สมดังที่ท่านกล่าวว่า วิปัสสนากรรมฐานเป็นธรรมปฏิบัติขั้นสูงสุดดังนี้

 

เพราะในศาสนาอื่นมีสอนเฉพาะศีล  เพื่อละกิเลสที่แสดงออกทางกาย  ทางวาจา  และสอนสมาธิ    เพื่อละกิเลสที่แสดงออกทางใจ โดยที่อาสวะกิเลสยังไม่สามารถละได้ดังนั้นจึงเป็นการปฏิบัติธรรมในระดับโลกียะเท่านั้น ไม่สามารถออกไปจากวังวนของสังสารวัฏได้เลยเพราะยังจะต้องมีทุกข์  คือความโศกเศร้า  ร่ำไรรำพัน  ทุกข์กาย  ทุกข์ใจและความคับแค้นใจด้วยประการต่างๆ อยู่ตลอดไปไม่มีอันจบสิ้นได้เลย

 

หลวงพ่อพระครูภาวนาวิหารธรรม วิ.

พระวิปัสสนาจารย์  โพธิปักขิยธรรมสถาน

จากหนังสือ  : ของฝากจากพระอาจารย์มหาเหล็ก จนฺทสีโล 

Left-Pic

 

"เมื่อตัณหาที่ตัวอยากมีมาก มันก็เป็นตัวทุกข์มาก อยากมาก ไม่ได้ เพราะอยากเนี่ยให้ถอน ให้ทำแต่ไม่ให้อยาก ทำได้มั๊ยละ ถ้าทำได้ก็ได้"


พระครูภาวนาวิหารธรรม วิ.

(เหล็ก จนฺทสีโล)

 

News-Home

กิจกรรมโพธิปักขิยธรรมสถาน ประจำเดือน มกราคม - กุมภาพันธ์ 2567

 

มกราคม 2567 พระอาจารย์มหาบุญทัน รตนปญฺโญและคณะสงฆ์ออกจาริกธุดงค์

และ ปิดเพื่อทำความสะอาดประจำปี 

15-18 กุมภาพันธ์ 2567 เปิดคอร์สแรกของปี 2567

27 กุมภาพันธ์ 2567 กิจกรรมวันมาฆบูชา  (ขอเชิญใส่บาตร และเวียนเทียน เวลา 8.30 น.)

วิธีการสมัครเข้าปฏิบัติธรรม และ ตารางคอร์สปฏิบัติธรรม

 

 

 

ขอเรียนเชิญ ปฏิบัติธรรม และเป็นเจ้าภาพถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุ และผู้ปฏิบัติธรรม

 

หลักสูตร 4 วัน 16,000 บาท หลักสูตร 7 วัน 28,000 บาท หรือ วันละ 4,000 บาท (ตรวจสอบตารางปฏิบัติธรรม) 

(ประกาศชื่อในป้ายประกาศ และเป็นตัวแทนเข้าถวายเพลพระภิกษุสงฆ์ ใบอนุโมทนาบัตรใช้ลดหย่อนภาษีได้)

บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (สาขาประชานิเวศน์ 1)  ชื่อบัญชี “มูลนิธิวิปัสสนามิตรภาพ” เลขที่ 085-2-36428-6

แจ้งการเป็นเจ้าภาพ  และส่งหลักฐานการโอนได้ที่ inbox FB Page โพธิปักขิยธรรมสถาน 

และขอร่วมอนุโนทนามาณ โอกาสนี้ด้วย

 

 

 

 

 

รักในความเป็นอยู่ของตน

รักในความเป็นอยู่ของเพื่อนร่วมโลก

รักในสิ่งที่เรามี

รักในสิ่งที่เราพึ่งได้มา

และสุดท้ายคือรักในทุกสิ่งทุกอย่างที่เราจะจากไป

 

พ.บุญทัน รตนปญฺโญ

พระวิปัสสนาจารย์โพธิปักขิยธรรมสถาน

 

 

 

 

 

อ่านรีวิวโพธิปักขิยธรรมสถาน คลิกที่นี่ 

 

ตรวจสอบตารางปฏิบัติธรรม โพธิปักขิยธรรมสถาน คลิกที่นี่

 (รับจำนวนจำกัด และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการระบาดของโควิด-19)

 

 

 

ติดตามข่าวสาร แจ้งเป็นเจ้าภาพ และสมัครเข้าร่วมปฏิบัติธรรม

ได้ที่ช่องทางดังต่อไปนี้

 

Right-Pic

 

"รูปนามเป็นตัวทุกข์ รูปนามไม่เที่ยง รูปนามบังคับไม่ได้ รูปนามอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ เมื่อเรากระทำให้มากในสติปัฎฐาน จะแจ้งด้วยปัญญาโดยชอบ.."

 

พ.บุญทัน รตนปญฺโญ

หลักสูตรปฏิบัติธรรม

การสมัครเข้าปฏิบัติธรรม

ตารางปฏิบัติธรรม

Featured YouTube Slider

Tumma2

บริจาค-banner

Free Joomla! template by L.THEME